7 วิธีป้องกันลูกจากการถูกลักพาตัว

ข่าวลักพาตัวเด็กยังมีให้เห็นเรื่อยๆ ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ประมาณ ดูแลเจ้าตัวเล็กกันอย่างใกล้ชิด วันนี้เรามีวิธีรับมือกับภัยใกล้ตัวนี้มาฝากกันค่ะ

1. สอนลูกไม่ให้คุย หรือรับขนมจากคนแปลกหน้า แม้ว่าคนนั้นจะพูดจาดี น่าเชื่อถือก็ตาม บอกลูกว่า อย่าเพิ่งเชื่อหรือไว้ใจเด็ดขาด ควรแจ้งผู้ใหญ่ก่อนเสมอ

2. ซักซ้อมเล่นจำลองสถานการณ์ ว่าหากเกิดเหตุการณ์จริงลูกควรทำอย่างไร เช่น หลงทางในห้างสรรพสินค้าจะทำอย่างไร อาจขอความช่วยเหลือจากพนักงานห้าง ไม่หลงเชื่อคนแปลกหน้าที่เข้ามาบอกว่าจะพาไปส่งที่บ้าน เป็นต้น

พัฒนาการเด็ก

3. ไม่ควรปล่อยลูกอยู่คนเดียวที่บ้าน รวมถึงสถานที่ต่างๆ แม้ว่าจะมั่นใจว่าปลอดภัย เพราะอาจเกิดอันตรายจากมิจฉาชีพได้ จากผลสำรวจพบว่าสถานที่ที่เด็กถูกลักพาตัวมากที่สุดก็คือ ร้านเกม บริเวณบ้าน และห้างสรรพสินค้าตามลำดับ

4. ให้ลูกจดจำข้อมูลของคุณพ่อคุณแม่ อาจเขียนใส่กระดาษพกติดตัวลูกไว้ เช่น ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ และสอนให้ลูกบอกข้อมูลกับคนที่น่าไว้ใจได้เท่านั้นเมื่อหลงทาง เช่น พนักงานรักษาความปลอดภัยของห้าง เจ้าหน้าที่ตำรวจ

5. หลีกเลี่ยงให้ลูกเดินในที่เปลี่ยว แหล่งเสื่อมโทรมต่างๆ ขึ้นรถแท็กซี่ที่ติดฟิล์มสีเข้มกว่าปกติ รวมถึงสถานที่สาธารณะยามค่ำคืน

6. สอนให้ลูกวิ่งหนีและตะโกนขอความช่วยเหลือทันที เมื่อเกิดเหตุการณ์การณ์ไม่น่าไว้ใจ เช่น “ช่วยหนูด้วย” “ช่วยผมด้วย”

7. สอนให้ลูกมีสติ กรณีที่เป็นเด็กโต ไม่ร้องไห้ ตกใจกลัว และรู้จักป้องกันตัวเบื้องต้นในยามฉุกเฉิน เช่น ขว้างสิ่งของใกล้มือใส่คนร้าย เบี่ยงเบนความสนใจ หรือโจมตีจุดที่อ่อนที่สุดของคนร้าย เช่น ดวงตา จากนั้นให้วิ่งหนีให้เร็วที่สุดเพื่อขอความช่วยเหลือ

ข่าวแนะนำ : ทำความรู้จัก โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร อาการอย่างไร สามารถรักษา-ป้องกันได้อย่างไร

ทำความรู้จัก โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร อาการอย่างไร สามารถรักษา-ป้องกันได้อย่างไร

โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นอีกหนึ่งโรคผิวหนังชื่อคุ้นหูสำหรับใครหลายคน แต่ไม่ทราบว่า แท้จริงแล้ว โรคดังกล่าวคืออะไร และมีอาการอย่างไร วันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จะมาแบ่งปันเนื้อหาสาระดี ๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้ทุกคนได้เรียนรู้กัน

ทำความรู้จัก-โรคสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร?
นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง มีอาการผื่นขึ้นหลายรูปแบบ บริเวณผิวหนังทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น หนังศีรษะ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า อวัยวะเพศ โดยผื่นโรคสะเก็ดเงิน มักเกิดขึ้นบริเวณที่คนทั่วไปสังเกตได้ชัด ส่งผลให้มีผลต่อภาพลักษณ์ ทำให้คนรอบตัว เพื่อนร่วมงานอาจรังเกียจผู้ป่วยได้ นอกจากนั้น ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ภาวะข้ออักเสบผิดรูป ภาวะอ้วนลงพุง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงของโรคสะเก็ดเงิน คือใคร?
พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ว่า โรคสะเก็ดเงิน สามารถพบได้ทั้ง วัยเด็ก วัยทำงาน และผู้ป่วยสูงอายุ โดยในประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ประมาณ 2% ของประชากรไทยทั้งหมด ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก ประมาณ 20 – 25% ที่มีอาการรุนแรง

โรคสะเก็ดเงิน รักษาได้อย่างไร?
ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก การรักษาที่เหมาะสม คือ การทายาเฉพาะที่บริเวณผิวหนังที่เกิดผื่น หรือการฉายแสงเฉพาะรอยโรค ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการมาก จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยยารับประทานที่ออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน การฉายแสงอาทิตย์เทียม ทว่า มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น จึงจำเป็นต้องรักษาด้วยยาฉีดชีวโมเลกุลซึ่งมีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัย

โรคสะเก็ดเงิน สามารถหายขาดได้หรือไม่?
ปัจจุบัน โรคสะเก็ดเงินยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ แต่การรักษาในปัจจุบันสามารถทำให้ผื่นยุบและอาการของโรคสงบลงได้ ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นปกติเหมือนคนทั่วไป โดยผู้ป่วยยังต้องทายาเป็นครั้งคราว หรือรับประทานยาภายใต้การดูแลของแพทย์ เหมือนการรักษาโรคทั่วไป

ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ควรดูแลตัวเองอย่างไร?
พญ.มิ่งขวัญ ให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตัวเอง โดยวิธีการ:

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ขจัดความเครียด
ออกกำลังกายเป็นประจำ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ผื่นเห่อ เช่น การแกะเกา การดื่มสุรา
รักษาสุขภาพ ให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : โรค ‘RSV’ คืออะไร มีอาการแบบไหน ป้องกันได้ยังไงบ้าง?

โรค ‘RSV’ คืออะไร มีอาการแบบไหน ป้องกันได้ยังไงบ้าง?

โรค ‘RSV’ คืออะไร มีอาการแบบไหน ป้องกันได้ยังไงบ้าง?

เด็ก

ข่าวการเสียชีวิตของ หนูน้อยวัยเพียง 10 เดือนที่เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus) ทำเอาผู้ปกครองต่างเป็นกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกน้อย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จะพาไปทำความรู้จักโรคระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส “RSV” (อาร์เอสวี) ไวรัสตัวร้ายมีมาพร้อมอากาศหนาว ที่มักจะติดต่อกันอย่างรวดเร็วในเด็ก กับวิธีป้องกันลูกรักให้ปลอดภัยจากโรคนี้

“RSV” คืออะไร
RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ทำให้ร่างกายผลิตเสมหะออกมาจำนวนมาก ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้ มักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กเล็ก และระบาดหนักในช่วงปลายฝนต้นหนาว

“RSV” เกิดจากอะไร
ไวรัส RSV กระจายอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมชีวิตประจำวัน แต่หากร่างกายอ่อนแอและอยู่ในช่วงฤดูกาลเปลี่ยนผ่าน อากาศเปลี่ยนแปลง ร่างกายก็สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้ง่ายขึ้น

ซึ่งการติดเชื้อไวรัส RSV นั้นเกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หากเกิดในผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่มีสุขภาพแข็งแรง อาการป่วยจะหายได้เอง แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นในเด็กเล็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่มีอายุประมาณ 3-5 ขวบ ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ ซึ่งส่วนใหญ่เด็กที่เสียชีวิตหลังเป็น RSV มักจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคนี้ ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ ก็เป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นเดียวกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : รับมือไวรัส ‘RSV’ เปิดทริคเลือก ‘ประกันสำหรับเด็ก’ ปกป้องลูกน้อยจากโรคร้าย

“RSV” ติดต่อได้อย่างไร
โรค RSV เกิดจาการติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เจริญเติบโตได้ดีช่วงที่มีอากาศชื้น สามารถแพร่กระจายง่ายโดยผ่านการไอ จาม การสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย เสมหะสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส เป็นโรคที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในเด็กทารกและเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้

“RSV” มีอาการแบบไหน
การติดเชื้อไวรัส RSV ระยะเริ่มต้นนั้นใช้เวลาในการฝักตัวประมาณ 3-6 วัน ทำให้รู้ตัวช้า ต้องอาศัยการสังเกตและดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิดในช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้

โดยหลังจากได้รับเชื้อ RSV ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับ “ไข้หวัดธรรมดา” ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ เพิ่มด้วย เช่น ลูกป่วยด้วยอาการมีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล เจ็บคอ มีเสมหะจำนวนมาก หายใจเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด หรือเสียงครืดคราด

หรือในบางกรณีที่มีอากาารหนักและต้องรีบนำส่งโรคพยาบาลทันที คือเด็กมีอาการไอจนอาเจียน หายใจเร็วหอบจนชายโครงหรืออกบุ๋ม หายใจออกลำบากหรือหายใจมีเสียงวี้ด กินข้าวหรือนมได้น้อย ซึมลง ปากซีดเขียว ซึ่งลักษณะนี้สะท้อนว่าผู้ป่วยอาการหนัก และมีโอกาสว่าระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้สูง