กสิกรไทยต่อยอด AEC+3 ชูยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้งเต็มรูปแบบ

กสิกรไทยต่อยอด AEC+3 ชูยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้งเต็มรูปแบบ

 การเงิน

ธนาคารกสิกรไทย ต่อยอด AEC+3 ชูยุทธศาสตร์การเงินผ่านดิจิทัลแบงก์กิ้ง พร้อมตั้งเป้าปี 66 เพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศต่อรายได้สุทธิเป็น 4%

นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาธนาคารได้ขยายธุรกิจในต่างประเทศ และสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์โลกที่ท้าทายและยังอยู่ในสภาวะเพิ่งฟื้นตัว โดยปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถส่งมอบรายได้สุทธิ หรือ Net Total Income ให้ธนาคารกสิกรไทยเพิ่มขึ้นเป็น 2.5% และปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าท้องถิ่นในต่างประเทศถึง 2.1 ล้านรายทั่วภูมิภาค

สำหรับปี 2566 ธนาคารกสิกรไทยจะขยายธุรกิจในตลาด AEC+3 อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นธนาคารแห่งภูมิภาค AEC+3 หรือ A Regional Bank of Choice ด้วยการเดินหน้ากลยุทธ์ทางธุรกิจ 3 ด้านประกอบด้วย

1. การรุกขยายสินเชื่อให้กับลูกค้าธุรกิจ

2. การขยายฐานลูกค้าที่มุ่งเน้นการใช้บริการในช่องทางดิจิทัล ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรของธนาคาร เพื่อต่อยอดสู่การเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินแห่งภูมิภาค

3. การพัฒนาบริการทางการเงินรูปแบบใหม่สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เข้าถึงบริการของธนาคารได้จำกัด ซึ่งเป็นฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะการให้สินเชื่อดิจิทัลด้วยข้อมูลทางเลือก

ขณะเดียวกันก็มุ่งหน้าสร้างพื้นฐานของธนาคารให้แข็งแกร่ง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจใน AEC+3 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น พร้อมให้ความสำคัญกับการสร้างธนาคารกสิกรไทยให้เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือในแต่ละประเทศทั่วภูมิภาค ด้วยการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรด้านไอทีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบดิจิทัล

รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเชื่อมต่อกับพันธมิตรผู้ให้บริการทางการเงินในท้องถิ่น ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้าง Ecosystem เพื่อส่งมอบบริการทางการเงินที่จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงเงินทุนเพื่อการดำเนินชีวิตหรือทำธุรกิจได้มากขึ้นในวงกว้าง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธนาคารกสิกรไทยมีความแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น ตามแนวคิดการเป็น Beyond Banking ของธนาคารในระดับภูมิภาค

อัพเดทข่าวการเงิน มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม :  สรรพากรเข้มคืนภาษีเงินได้กลุ่มเสี่ยง

สรรพากรเข้มคืนภาษีเงินได้กลุ่มเสี่ยง

สรรพากรระบุจะตรวจสอบการขอคืนภาษีบุคคลธรรมดาเข้มข้นสำหรับกลุ่มคนที่จัดอยู่ในบัญชีกลุ่มเสี่ยง

ชี้หากได้รับคืนช้าเกินกว่า 7 วัน ถือว่า ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง พร้อมเปิดช่องทางตรวจสอบกรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นกรมสรรพากร

นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร ระบุ กรมฯจะตรวจสอบการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเข้มข้นมากยิ่งขึ้น หลังพบว่า มีกลุ่มคนยื่นขอคืนภาษีเป็นเท็จ ซึ่งขณะนี้ กรมฯได้จัดอยู่ในบัญชีกลุ่มเสี่ยงแล้วหากผู้ยื่นแบบรายใดได้รับการคืนภาษีที่ล่าช้าเกิน 7 วัน นั่นหมายความว่า ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว

ทั้งนี้ ในช่วงเดือนม.ค.ถึง มี.ค.ของทุกปี เป็นฤดูของการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย 90%ของผู้ยื่นแบบเป็นการยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

การเงิน เศรษฐศาสตร์

“ถ้ายื่นแบบภาษีอย่างถูกต้องตรงไปตรงมา ไม่ต้องกังวล หากได้รับเงินคืน กรมฯจะคืนให้ภายใน 3 วันแต่คนใดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็จะใช้เวลาในการตรวจสอบอย่างละเอียดมากขึ้น หากมีภาษีต้องคืน ก็จะคืนให้แต่จะเกิน 7 วัน” เขากล่าวและว่า ปัจจุบันมีผู้อยู่ในระบบภาษีบุคคลธรรมดา 11 ล้านคน แต่อยู่ในฐานะต้องเสียภาษีเพียง 4 ล้านคน

นายลวรณ กล่าวต่อว่า ช่วงนี้เป็นช่วงการยื่นแบบเสียภาษี ทำให้มีมิจฉาชีพ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรหลอกหลวงประชาชน ดังนั้น ขอให้ประชาชนที่ได้รับสายจากเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ขอให้เชื่อว่า เป็นมิจฉาชีพทันที เพราะกรมสรรพากร ไม่มีนโยบายให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์ และส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) รวมถึงทางไลน์ (Line) ไปยังผู้เสียภาษีโดยตรง  เนื่องจาก ยังคงใช้วิธีการส่งจดหมายไปตามที่อยู่ผู้เสียภาษี และให้นำจดหมายที่ได้รับมาติดต่อกรมสรรพากรในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม หากประชาชนมีข้อสงสัยเรื่องมิจฉาชีพ ให้โทร.สอบถามเบอร์ 1161 ซึ่งขณะนี้ได้เพิ่มคู่สาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสอบถามเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว

นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่า กรมสรรพากร กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงประกาศในเรื่อง Service Provider  เพื่อให้ผู้บริการสามารถให้บริการในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี โดยปัจจุบัน Service Provider เพียงทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร แต่การปรับปรุงใหม่ ที่คาดว่า จะประกาศใช้ได้ภายในเดือนมี.ค.นี้ จะให้ Service Provider สามารถทำระบบบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กที่ไม่มีความเชี่ยวชาญการทำบัญชี สามารถใช้ได้และกรมสรรพากรยอมรับ รวมถึง ให้ Service Provider สามารถให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ในการยื่นแบบเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กับกรมสรรพากรได้ด้วย

“ความยุ่งยากในการลงบัญชีและการยื่นเสียภาษี ถือเป็นปัญหาหรือpain point ที่สำคัญประการหนึ่งของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ทำให้หลายรายไม่อยากเข้าระบบภาษีที่ถูกต้อง เมื่อเราทำให้ระบบดังกล่าวง่ายขึ้น ก็เชื่อว่าจะทำให้คนเต็มใจเข้าระบบภาษีมากขึ้นด้วย”

ข่าวแนะนำ : พาเหรดขึ้น “ดอกเบี้ยเงินกู้” เด้งรับมติ กนง.แบงก์รัฐตรึงต่อไม่ไหว

พาเหรดขึ้น “ดอกเบี้ยเงินกู้” เด้งรับมติ กนง.แบงก์รัฐตรึงต่อไม่ไหว

พาเหรดขึ้น “ดอกเบี้ยเงินกู้” เด้งรับมติ กนง.แบงก์รัฐตรึงต่อไม่ไหว

5 แบงก์รัฐ “ธอส.–เอ็กซิมแบงก์–ธพว.–ธ.ก.ส.–ออมสิน” ตบเท้าขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้พร้อมเพรียง หลังตรึงต่อเนื่องมากว่า 2 ปี ชี้เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบายรอบที่ 4 ของ กนง.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่สถาบันการเงินของรัฐทั้ง 7 แห่ง ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา เพื่อช่วยลดภาระการผ่อนส่งหนี้ให้กับประชาชน แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะได้ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 3 ครั้งในปี 2565 อย่างไรก็ตาม ล่าสุดหลังจากที่ กนง.มีมติล่าสุดเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 4 อีก 0.25% สถาบันการเงินของรัฐได้ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยให้เป็นไปตามต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น

นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ เปิดเผยว่า เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง.แนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อนั้น สถาบันการเงินของรัฐมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยคาดว่าจะเริ่มทยอยปรับขึ้น และมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค.2566 เป็นต้นไป

การเงิน

ทั้งนี้ ในส่วนของ ธอส.จะปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภทเพิ่มขึ้น 0.25% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.2566 เป็นต้นไป ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จากอัตราปัจจุบันที่ 6.15% ต่อปี ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.40% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 5.75% ต่อปี เป็น 6.00% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 5.90% ต่อปี เป็น 6.15% ต่อปี

“โดยในส่วนของ ธอส.นั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี 9 เดือน หลังจากที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย เมื่อ 25 พ.ค.63 ที่ผ่านมา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพประชาชนในช่วงวิกฤติโควิด-19”

ด้านนายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) กล่าวว่า เอ็กซิมแบงก์ขอประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จาก 5.75% ต่อปี เป็น 6.00% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2566 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี เอ็กซิมแบงก์ ยังคงให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่องให้สามารถปรับตัวกับอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น และปัจจัยท้าทายของเศรษฐกิจโลก

ขณะที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์นั้น ได้มีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ หรือเอ็มแอลอาร์อีก 0.25% โดยมีผล ตั้งแต่ 25 ม.ค.66 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ปรับขึ้นจาก 6.75% เป็น 7.00% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้ชนิดอื่นยังคงไว้ในอัตราเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนธนาคารออมสินได้มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ทุกชนิดอีก 0.25% เช่นกัน ตามมติสถาบันการเงินของรัฐ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.เป็นต้นไป

นอกจากนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.ได้ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ 0.125-0.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.66 เป็นต้นไป โดยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ 0.125% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มจาก 6.5% เป็น 6.625% ขณะนี้ปรับดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์เพิ่ม 0.25% จาก 4.875% เป็น 5.125% และดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี หรือเอ็มโออาร์เพิ่ม 0.25% จาก 6.25% เป็น 6.50%